วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


วิชา   การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  27  มกราคม  พ.ศ.2558

กิจกรรม
   รูปแบบการจัดการศึกษา
      การศึกษาปกติทั่วไป  ( Regular  Education )
      การศึกษาพิเศษ  ( Special   Education )
      การศึกษาแบบเรียนร่วม  ( Integrate   Education  หรือ  Mainstreaming )

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
   เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้  ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม  ( Integrate   Education  หรือ  Mainstreaming )
   การเรียนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการได้เข้าเรียนรู้สังคมและสิ่งแวดล้อมของชั้นเรียนเด็กปกติ เพื่อให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ จากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน นโยบายการศึกษาชาติได้ให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนไทยทุกคนให้สามารถเรียนได้ในทุกที่ที่เปิดเรียนทั้งคนปกติและคนไม่ปกติซึ่งหมายถึงผู้พิการ ผู้มีปัญหาสุขภาพ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม เกิดการยอมรับในความเป็นมนุษย์ สร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันนับเป็นนโยบายการศึกษาที่สร้างสรรค์ความเป็นคน และความสมบูรณ์ทางสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษาต้องคำนึงถึงและนำมาพิจารณาให้เป็นรูปธรรมคือ การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการสร้างความเป็นคนที่เข้าใจกันและเมตต่านั้นต้องเกิดจากการพัฒนากรอบการดำเนินงานอย่างมีแบบแผน มิใช่เพียงเพื่อได้กระทำ แต่ต้องเป็นการกระทำผ่านการพิจารณาถึงมาตรฐานการศึกษา และสร้างความเป็นไปได้ที่มีคุณค่าแท้จริงด้วย..... อ่านต่อได้ที่ การเรียนร่วม

การเรียนร่วมบางเวลา
   การเรียนร่วมบางเวลานั้นเหมาะกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในระดับปานกลางถึงมาก  เด็กจะมีครูมาคอยอยู่ด้วยตลอดที่ทำกิจกรรม  กิจกรรมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมเคลื่นไหวและจังหวะ  เนื่องจากเด็กในระดับนี้ยังไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือเรียนรู้ได้เท่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษปกติ

การเรียนร่วมเต็มเวลา
   เด็กที่สามารถเรียนร่วมได้เต็มเวลานั้นจะอยู่ในระดับที่ปกติสามารถเรียนรู้ได้ดีและสามารถอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้ดี

ความหมายของเด็กพิเศษแบบเรียนรวม  ( Inclusive  Education )
   การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล อ่านต่อได้ที่ : เด็กเรียนรวม

   พอจบการเรียนในสไลด์นี้แล้วอาจารย์ให้พวกเราวาดรูปดอกชบาพร้อมเขียนการสังเกตจากรูปดอกชบา

บทบาทครูในห้องเรียนรวม
   ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก  ( อย่าตั้งฉายาให้เด็ก  เพราะเด็กถือว่าเข้ามีชื่อทำไมต้องเอาชื่ออื่นมาตั้งให้เขาอีก ฉ
   ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก  ( ถ้าตั้งชื่ออื่นให้กับเด็ก  เด็กอาจจะกลายเป็นเช่นนั้น )
   ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ  ( ควรเล่าเรื่องดีดีให้พ่อแม่ของเด็กฟัง  แล้วค่อยเล่าเรื่องที่เด็กทำไม่ปกติให้พ่อแม่ฟังที่หลัง )
   
ครูทำอะไรบ้าง
   สังเกตอย่างมีระบบ 
      ครูสังเกตอย่างมีระบบได้ดีที่สุด
      ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆเป็นเวลานาน
      ครูต้องจำชื่อเด็กให้ได้ทั้งหมด

                                                                
                                                          
                                                          
                                                     
                                                         

การตรวจสอบ
   ทราบพฤติกรรมของเด็ก
   เป็นแนวทางที่ครู พ่อ แม่เข้าใจเด็ก
   บอกได้ว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือเรื่องใด

ขอควรระวังในการปฏิบัติ
   ไว้ต่อความรู้สึก
   ประเมินให้มีน้ำหนักความสำคัญในเรื่องจ่างๆได้
   พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฎเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
   การนับอย่างง่ายๆ
      นับการเกิดพฤติกรรมในแต่ละวันว่าเกิดกี่ครั้งต่อ วัน/ชั่วโมง  และเกิดกี่นาที
   การบันทึกต่อเนื่อง
      ให้รายละเอียดได้มาก  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเลานึง  ไม่ต้องไปเสนอแนะ
   

   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
      บันทึกลงบัตรเล็กๆ  เป็นการบันทึกสั้นๆ

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
   เอาใจใส่ในความมากน้อยในควา่มบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง  พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
   ตัดสินด้วยความระมัดระวัง
   พฤติกรรที่เกิดขึ้นขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำไปใช้ในการฝึกสังเกตเด็กได้  และยังสามารถนำเพลงที่อาจารย์ให้ไปใช้ร้องกับเด็กหรือไปใช้ในรายวิชาอื่นๆได้

ประเมินอาจารย์
   อาจารย์สอนได้อย่างเข้าใจ  และมีการนำรูปภาพของนักศึกษาในห้องมาประกอบการเรียนให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย

ประเมินตนเอง
   เข้าใจที่อาจารย์สอน  มีแอบคุยกับเพื่อนบ้าง  สนุกกับการเรียนในวันนี้เป็นอย่างมาก

ประเมินเพื่อน
   เพื่อนตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานที่อาจารย์ให้ทำกันอย่างเต็มที่

เนื้อเพลงที่อาจารย์แจกให้นักศึกษา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น